พระราชวังบางปะอิน ตั้งอยู่ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากตัวเมืองอยุธยาประมาณ 20 กิโลเมตร พระราชวังบางปะอิน สร้างขึ้นโดยพระเจ้าปราสาททอง ต่อมาได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 4 และในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งต่างๆอีกหลายองค์ เพื่อใช้เป็นที่ประทับและออกว่าราชการในการเสด็จประพาสอยุธยา
พระราชวังบางปะอิน เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) ตั้งแต่เวลา 08:00-16:00 น. อัตราค่าเข้าชม สำหรับคนไทยผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 20 บาท ส่วนชาวต่างประเทศ 100 บาท แต่งกายสุภาพ
ประวัติ
มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเอกาทศรถ ยังทรงดำรงพระยศพระมหาอุปราช วันหนึ่งพระองค์ได้เสด็จประพาสทางชลมารค เมื่อถึงบริเวณเกาะบางปะอิน เรือพระที่นั่งถูกพายุใหญ่พัด ทำให้เรือพระที่นั่งล่มลง สมเด็จพระเอกาทศรถทรงว่ายน้ำขึ้นไปบนเกาะนี้ ซึ่งเดิมชื่อ "เกาะบ้านเลน" และประทับอยู่กับชาวบ้านในระหว่างประทับอยู่ ณ ที่นี้ สมเด็จพระเอกาทศรถได้หญิงชาวเกาะเป็นบาทบริจาริกา มีนามว่า "อิน" จึงเป็นเหตุให้คนทั่วไปเรียกเกาะนี้ต่อมาว่า "เกาะบางปะอิน" ต่อมาเมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พระองค์ก็ทรงพานางอินนี้กลับไปกรุงศรีอยุธยาด้วย นางอินผู้นี้จึงเป็นพระสนมในเวลาต่อมา และมีพระราชโอรสด้วยกัน เล่ากันว่าพระราชโอรสพระองค์นั้น คือ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
เมื่อปี พ.ศ. 2175 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นตรงบริเวณนิวาสสถานเดิมของพระมารดา และได้พระราชทานนามว่า "วัดชุมพลนิกายาราม" และได้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งเพื่อฉลองการที่พระราชเทวีประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระนารายณ์ราชกุมาร พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์" พระราชวังบางปะอินจึงเป็นสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในฤดูร้อนสืบเนื่องกันมา จนกระทั่ง กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310 ซึ่งทำให้พระราชวังแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างไป
รำพึงพายตามสายกระแสเชี่ยว | ยิ่งแสนเปลี่ยวเปล่าในฤทัยถวิล | |
สักครู่หนึ่งก็มาถึงบางเกาะอิน | กระแสสินธุ์สายชลเป็นวนวัง |
อันเท็จจริงสิ่งนี้ไม่รู้แน่ | ได้ยินแต่ยุบลในหนหลัง | |
ว่าที่เกาะบางอออินเป็นถิ่นวัง | กษัตริย์ครั้งครองกรุงศรีอยุธยา |
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า บางปะอินเป็นเกาะกลางน้ำ มึความเงียบสงบ มีเส้นทางการเดินเรือได้หลายทาง สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นสถานที่เสด็จประพาสของพระบรมชนกนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ สำหรับแปรพระราชฐานดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
สิ่งที่น่าสนใจในพระราชวังบางปะอิน
เขตพระราชฐานชั้นนอก
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์
เป็นปราสาทอยู่กลางสระ สร้างในรัชกาลที่5
เดิมสร้างด้วยไม้ทั้งองค์ ต่อมาในรัชกาลที่ 6
โปรดฯให้เปลี่ยนเสาและพื้นเป็นคอนกรีต
เสริมเหล็กเพื่อความมั่นคง
พระที่นั่งวโรภาษพิมาน รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2415 เพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกว่าราชการ และใช้เป็นที่ประทับ เป็นตึก 2 ชั้น ศิลปะแบบคอรินเทียนออร์เดอร์ ปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ยังใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบรมวงศ์เมื่อเสด็จแปรพระราช ฐานมาประทับ ณ พระราชวังบางปะอิน
เขตพระราชฐานชั้นใน
- หอวิฑูรทัศนา สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้เป็นที่ทอดพระเนตรโขลงช้างป่า และภูมิประเทศโดยรอบพระราชวัง เป็นหอสูง 3 ชั้น ทาสีเหลืองสลับแดง
- พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยชาวไทยเชื้อสายจีนเพื่อถวายแด่รัชกาลที่ 5 พระที่นั่งองค์นี้ยังใช้ประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายจนถึงปัจจุบัน
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือพระนางเรือล่ม
เป็นพระมเหสีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จทิวงคตเนื่องจากเรือพระที่นั่งเกิดอุบัติเหตุล่มลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะทรงพระครรภ์ แต่ไม่มีใครกล้าช่วยเหลือ เนื่องจากตามกฎมณเทียรบาลอันเก่าแก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสร้างอนุสาวรีย์หินอ่อนขึ้น เพื่อเป็นที่รำลึกด้วยความอาลัยรัก พร้อมทั้งจารึกคำไว้อาลัยที่ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองไว้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
เป็นพระมเหสีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จทิวงคตเนื่องจากเรือพระที่นั่งเกิดอุบัติเหตุล่มลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะทรงพระครรภ์ แต่ไม่มีใครกล้าช่วยเหลือ เนื่องจากตามกฎมณเทียรบาลอันเก่าแก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสร้างอนุสาวรีย์หินอ่อนขึ้น เพื่อเป็นที่รำลึกด้วยความอาลัยรัก พร้อมทั้งจารึกคำไว้อาลัยที่ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองไว้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ เป็นอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง ซึ่งสิ้นพระชนม์ภายในปีเดียวกัน